การเตรียมตัวเราเองให้พร้อมก่อนเข้าถวายสักการะ พระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมโกศเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมากและควรปฎิบัตินะคะ เช่น การแต่งกายให้สุภาพยิ่งต้องปฎิบัติเป็นอย่างยิ่งนะคะ ตอนนี้ประชาชนชาวไทยต่างโศกเศร้าและร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสำนักพระราชวังพระราชทานพระราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายสักการะ พระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมโกศ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไปคะ เรามาดูสิ่งที่ควรปฎิบัติ และ ไม่ควรจะปฎิบัติกันคะ และข้อมูลต่างๆเพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อมกันคะ
วันและเวลาที่เปิดให้เข้าถวายสักการะ พระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมโกศ
การแต่งกายสำหรับเข้าถวายสั
ชุดเครื่องแบบ
การแต่งกายที่ไม่เหมาะสม
เครื่องประดับและการแต่งหน้า
สถานที่จุดรับ-ส่งและการเดินทางถวายสักการะพระบรมศพ
1. การอำนวยความสะดวกประชาชนที่เดินทางมาร่วมพระราชพิธี กำหนดที่จอดรถให้ 4 จุด คือ
1) หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง
1.1 จุดส่ง : แยกคอกวัว
1.2 จุดรับ : หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์
2) หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (วงเวียน รด.)
3) ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า หน้าสำนักงานท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ถนนพระอาทิตย์
4) หน้ากองสลากเก่า ถนนราชดำเนินกลาง
4.1 จุดส่ง : หน้ากองสลาก (เก่า)
4.2 จุดรับ : ใกล้แยกคอกวัว
1.2 ขสมก. จัดรถส่งประชาชน(เพิ่มเติม) หลังเสร็จสิ้นการถวายบังคมพระบรมศพ
– โดยจะจอดรถรอส่งประชาชนบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ใกล้แยกผ่านภิภพ)
– ฝั่งขาออกนอกเมืองไปทางสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 10 คันฝั่ง และ ฝั่งเข้าเมือง 10 คัน
1.3 ประชาชนที่นำรถยนต์ส่วนตัวเข้ามา กำหนดจุดจอดรถให้ 9 แห่ง ได้แก่
1) ทิศเหนือ จำนวน 2 แห่ง คือ
1.1 อิมแพคเมืองทองธานี รองรับรถได้ จำนวน 5,000 คัน
1.2 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต รองรับรถได้ จำนวน 1,500 คัน (ส่งจุดที่ 1)
2) ทิศใต้ จำนวน 3 แห่ง คือ
2.1 ลานพุทธมณฑลสาย 4 รองรับรถได้ จำนวน 5,000 คัน (ส่งจุดที่ 4)
2.2 เซ็นทรัล ศาลายา รองรับรถได้ จำนวน 1,800 คัน (ส่งจุดที่ 4)
2.3 เซ็นทรัล พระราม 2 รองรับรถได้ จำนวน 3,700 คัน (ส่งจุดที่ 2)
3) ทิศตะวันออก จำนวน 1 แห่ง คือ
– เมกกะบางนา รองรับรถได้ จำนวน 1,000 คัน (ส่งจุดที่ 2)
4) ทิศตะวันตก จำนวน 1 แห่ง คือ
– เซ็นทรัล เวสต์เกต รองรับรถได้ จำนวน 1,000 คัน
5) รอบใน จำนวน 2 แห่ง คือ
5.1 สโมสรตำรวจ รองรับรถได้ จำนวน 400 คัน (ส่งจุดที่ 1)
5.2 แอร์พอทลิ้งค์ มักกะสัน รองรับรถได้ จำนวน 1,000 คัน (ส่งจุดที่ 1)
โดย ขสมก. จะจัดรถ Shuttle Bus เพื่อ รับ-ส่ง จากจุดจอดรถมายังสนามหลวง
1.4 กรณีการให้บริการรถรางรับ-ส่งประชาชนบริเวณสนามหลวง ของ กรุงเทพมหานคร
– ให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น.
1) รถที่ให้บริการ จำนวน 4 คัน แบ่งเป็น
1.1 รถรางชั้นเดียว จำนวน 2 คัน รองรับผู้โดยสารได้คันละ 35 คน
1.2 รถลอนดอนบัส 2 ชั้น จำนวน 2 คัน รองรับผู้โดยสารได้คันละ 70 คน
2) เส้นทางที่ให้เดินรถราง ในวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2559
(จุดรับ-ส่ง บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ)
เริ่มต้นจากพิพิธภัณฑ์ฯ – เลี้ยวซ้ายซอยราชินี – ถนนพระอาทิตย์ – ถนนพระสุเมรุ –
ป้อมมหากาฬ – อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย – ถนนราชดำเนินกลาง – แยกผ่านภิภพ –
ซอยราชีนี – พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชติ (วน)
1.5 กรณีที่ประชาชนเดินทางเป็นคณะโดยรถบัส ให้ขับรถส่งประชาชนได้ 2 จุด คือ
1) หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง
2) หน้ากองสลากเก่า ถนนราชดำเนินกลาง
เมื่อส่งประชาชนแล้วให้นำรถไปจอดในพื้นที่ที่กำหนดให้ 5 จุด คือ
1) ถนนพุทธมณฑลสาย 1 จำนวน 400 คัน
2) ถนนพุทธมณฑลสาย 2 จำนวน 500 คัน
3) ถนนกาญจนาภิเษก จำนวน 500 คัน
4) สถานีขนส่งสายใต้เก่า จำนวน 150 คัน
5) ถนนไฟฉาย – ถนนกาญจนาภิเษก จำนวน 500 คัน
1.6 ข้อเสนอแนะการเดินทางในระบบขนส่งมวลชนเพิ่มเติม
1) การเดินทางโดยรถไฟ (รฟท.)
– ลงสถานีหัวลำโพง ต่อรถ Shuttle Bus ของ ขสมก.
– ลงสถานีธนบุรี ต่อเรือท่าน้ำศิริราช เพื่อขึ้นท่าช้าง
2) การเดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS
– ลงสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สถานีวงเวียนใหญ่ ต่อรถ Shuttle Bus ของ ขสมก.
3) การเดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT
– ลงสถานีหัวลำโพง ต่อรถ Shuttle Bus ของ ขสมก.
4) การเดินทางทางเรือ
– แม่น้ำเจ้าพระยา ขึ้นท่าช้าง
– คลองแสนแสบ ขึ้นท่าผ่านฟ้า
– คลองผดุงกรุงเกษม ขึ้นท่าเทเวศร์
(ขอบคุณข้อมูลจาก Credit )
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นข้อมูลที่ทาง Chickyitems หาและนำมาเสนอเพื่อเป็นตัวช่วยและแนวทางคะ